วันอังคารที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2553

ความจำเป็นต่อการตัดสินใจตกแต่ง และ ออกแบบภายใน บ้านนั้น จะต้อง กำหนดพื้นที่ใช้สอย ในแต่ละห้องว่า ตำแหน่งใด จะเป็นที่จัดวาง และจัดเก็บของได้ และเอื้ออำนวย ต่อ การใช้พื้นที่ ให้เป็นประโยชน์มากที่สุด นับตั้งแต่ เนื้อที่ทุกตารางเมตร ที่ให้การจัดวางอย่างมีหลักเกณฑ์ตายตัว แน่นอนเช่น ใต้บันได, ใต้เตียง และบริเวณที่เป็นแแง่มุม หรือ กล่อง หรือตู้ที่แยกส่วนประกอบ และประกอบเข้าด้วยกัน ใน ระบบโมดูล่า ตาม ความเหมาะสมของเนื้อที่ ที่จัดวาง ให้สิ่งของเข้าที่ อย่างมีระเบียบ
ประเภทการจัดวาง มี 2 ประเภท
การจัดวางชั้นโชว์และวางของใช้
วิธีนี้จะต้องคำนึงถึง ประเภทของ ของที่วาง ให้สามารถมองเห็นได้ง่าย เรียกว่า มองเห็นของโชว์ และของใช้ก็ได้ในขณะเดียวกัน เช่น ตู้มีลิ้นชักไว้เก็บของ พร้อมทั้ง วางของโชว์ ของที่ใช้สอยได้ในเวลาจำเป็น อาจจะวางโทรศัพท์ วางกล่องเย็บปักถักร้อย เป็นต้น
การจัดเก็บรักษาอุปกรณ์เครื่องมือ-เครื่องใช้
การเก็บของบางอย่างต้องเก็บรักษา ให้ปลอดภัยไว้ก่อน ที่จะเกิดอันตรายขึ้น แก่คนและสัตว์ และเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย ที่สามารถหยิบฉววยใช้งานได้สะดวกในทันใด
การจัดวางและติดตั้งอุปกรณ์พิเศษต่าง ๆ ในแต่ละห้องจะมีการออกแบบ ในแนวศิลปะที่สามารถจินตนาการได้ ในรูปแบบของตัวเองมากน้อยแค่ไหน จำแนกได้ดังนี้
การติดตั้งชั้นวางของ
กล่าวโดยทั่ว ๆ ไปแล้ว ชั้นวางของเป็นสิ่งที่สามารถติดตั้งได้ในรูปแบบต่าง ๆ ตามความต้องการอันเหมาะสมของผู้ใช้สอย ตั้งแต่การทำชั้นติดผนัง บริเวณช่องว่างเหนือศรีษะ และบริเวณอื่น ๆ ที่มีที่ว่างพอเพียง
หลักการพิจารณา ติดตั้งชั้นวางของ ในบริเวณที่มีเนือที่จำกัดอาจใช้ วิธีการติดตั้งแบบ Built-in คือ การติดตั้งกับผนัง จะเหมาะสมกว่า การวางบนพื้นแบบอิสระ
ชั้นแบบกล่องแยกชิ้นได้ระบบโมดูลา
การใช้ประโยชน์บริเวณเนื้อที่ ที่อยู่ใต้บันได หรือห้องทำงานก็สามารถ เลือกใช้ อุปกรณ์เก็บของ ที่มีลักษณะเป้นกล่อง หรือเป็นบล็อค ๆ ที่สามารถแยกออกจากกันได้ ซึ่งเรียกว่า " คิวคิท " หรือ " ลูกบาศก์ " จะมีขนาดกว้างยาวประมาณ 15 นิ้ว
ช่องเก็บของแบบนี้ สะดวกต่อการติดตั้ง และสามารถติดตั้งได้ ตั้งแต่พื้นจรดเพดาน หรือแม้แต่ช่องว่างใต้บันไดก็ตาม ยิ่งไปกว่านั้นยังมีประโยชน์อื่น ๆ อีก เช่น เป็น ฉนวนกันความร้อน หรือกันเสียงรบกวนได้อีกด้วย
คุณสมบัติพิเศษอีกประการหนึ่งคือ สามารถเคลื่อนย้ายได้ตามความเหมาะสม จะสังเกตได้ว่า การใช้เก็บของแบบนี้ จะมีเนื้อที่ใช้สอยประโยชน์ได้แทบทุกด้านของกล่อง
นอกจากนั้น เราสามารถใช้ หลักการเดียวกันนี้กับวัสดุอื่น ๆ ได้ด้วย เช่น วางหนังสือ ตะกร้าสาน หรือใช้เก็บของพวกของเล่นใน ห้องนอน และอื่นๆอีกมากมาย
ห้องเก็บของใต้บันได
ใต้บันไดก็เป็นพื้นที่ใช้สอยประโยชน์ได้ดี ในการเก็บของ กระจุกกระจิก แต่ถ้าหากว่าจัดให้ดี ๆ ก็สามารถทำ ที่เก็บกระเป๋า และเสื้อผ้า หรือถ้าหากว่าเรามีเนื้อที่เก็บของ สำหรับพวกนี้ พอเพียงแล้ว พื้นที่บริเวณนี้ไม่ควรปล่อยว่างไว้เฉย ๆ เราสามารถทำเป็นที่เก็บของอื่น ๆ ได้ เช่น ถังแก็ส, ติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า หรือเก็บเตารีด ที่รองรีด, ชั้นวางรองเท้า อุปกรณ์ทำความสะอาด หรือกระทั่งอุปกรณ์เครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในบ้าน หรืออะไรอีกจิปาถะ

การประดิษฐ์โคมไฟ

การเตรียมอุปกรณ์ อุปกรณ์ที่ต้องใช้
1. ขวดน้ำพลาสติก ขวดโค๊ก 1.5 ลิตร หรือ 1.25 ก็ได้ ถ้าจะให้อลังการก็ขวดน้ำ 5 ลิตรไปเลยค่ะ
2. หัวแร้งใบมีดทองเหลืองสำหรับตัดขวดพลาสติก ชุดละ 300 บาท
4. สีเพ้นท์กระจก ที่มีขายตามร้านเครื่องเขียนทั่วไป หรือสั่งซื้อ ขนาด 60 cc 100 บาท 30 cc 60 บาท
5. น้ำยามีเดียม (เอาไว้ผสมสี) 30 cc ขวดละ 50 บาท
6. หนวดกุ้ง ต่อหลอดเพ้นท์สี 10 บาท/ถุง (6เส้น/ถุง)
7. อุปกรณ์ชุดโคมไฟ (หลอดไฟเล็ก ขั้วหลอด สายไฟ ปลอกสายไฟ) ซื้อได้ตามร้านทั่วไป หรือสั่งซื้อชุดละ 60 บาท
8. ตัวอย่างลายสำหรับเพ้นท์ขวด วาดเองก็ได้ค่ะ สามารถดัดแปลงหรือเขียนเองได้ค่ะ
    หรือถ้าต้องการแพทเทิร์น แจ้ง email address มาที่ likepaint@sanook.com จะส่งแพทเทิร์นไปให้ค่ะ (แจกฟรีค่ะ)
9. ทินเนอร์ (ซื้อได้ตามร้านขายวัสดุก่อสร้างค่ะ)
10. ปากกาเขียนแผ่นใส ชนิดลบออก ดูที่ด้ามจะเขียนว่า "non-permanent" watersoluble (ร้านเครื่องเขียนทั่วไป)

มาเริ่มทำกันเลยค่ะ

1.ก่อนอื่นเริ่มจากล้างขวดโค๊กให้สะอาดค่ะ ลอกป้ายออก จากนั้นก็ใช้ผ้าชุบทินเนอร์ เช็ดคราบกาวที่ขวดออกให้หมด
2.ใช้ปากกาวาดใบไม้ สำหรับใช้เป็นฝาด้านบนของโคมไฟ เทคนิคลักษณะขอบใบไม้ควรจะเป็นแบบเดียวกับลายโคมไฟที่จะทำ
ใช้หัวแร้งใบมีดตัดตามลายที่วาดไว้ (ต้องเสียบหัวแร้งทิ้งไว้ประมาณ 10 นาทีค่ะ)

เช็ดขวดให้แห้งสนิท  นำแบบแพทเทิร์นที่เลือก สอดเข้าไปในขวด จัดให้เข้าที่
หรือ ใช้แพทเทิร์นดอกเดี่ยวจัดวางรูปแบบเองตามต้องการได้ค่ะ จากนั้นก็ใช้ปากกาวาดตามลายที่เลือกไว้
ตัดขวดด้วยหัวแร้งใบมีด ตามลายที่วาดไว้
เทคนิคง่าย ๆ
1.กลีบดอกเต็มตัดให้ขาด ส่วนกลีบดอกไม่เต็มให้เว้นช่วงต่อไว้
2. ช่องว่างระหว่างดอกให้เว้นเอาไว้ เพื่อยึดไม่ให้กลับดอกหลุดจากขวด
3.ใบไม้ให้ตัดเว้นเป็นช่วง ๆ เพื่อยึดติดกับขวด
ลบลายที่วาดไว้ โดยเอาขวดไปล้างน้ำเปล่าเลย แค่นี้ก็หมดแล้ว เช็ดให้แห้ง
การเพ้นท์สี
เทสีใส่ขวดเพ้นท์ เอาหนวดกุ้งต่อหลอดสี แล้วตัดปลายออก แล้วแต่ความถนัด
จากนั้นก็ลงมือเพ้นท์ได้เลยค่ะ สีที่เหลือจากการเพ้นท์ เทคืนขวดแก้ว เพื่อเก็บรักษาคุณภาพของสีเพ้นท์
ถ้าสีหนืดเกินไป ใช้นำยามีเดียมเติมประมาณ 5-10 หยดแล้วแต่ความหนืดของสี

เชื่อมก้นขวดที่ตัดเอาไว้ ในขั้นตอนที่ 1 มาติดประกบ โดยใช้หัวแรงเชื่อม 5 จุดบริเวณร่องขวด
เจาะฝาก้นขวดแล้วใส่หลอดไฟเข้าไป แค่นี้ก็เสร็จแล้ว เห็นไหม ไม่ยากเลย ได้โคมไฟ สวย ๆ มาแขวนไว้ในสวนที่บ้านเราด้วยค่ะ